วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555





 จิตวิทยา
       เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก

ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก   ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ  ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ 
คอนบาค  (  Cronbach  )  "การเรียนรู้  เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย    ด้าน    ดังนี้
๑.  ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินผล
๒.  ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก  ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ  ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
๓.  ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว  การกระทำ  การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔  ประการ คือ
๑.  แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล    เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
๒.  สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ   ที่ครูนำมาใช้
๓.  การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น
๔.  การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมากธรรมชาติของการเรียนรู้


                                       

จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
.4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น

พฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.

จิตวิทยาพัฒนาการ
    เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย

การรับรู้และการเรียนรู้
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร

หลักของการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ
1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน
      โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข

3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์ เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ

จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้
เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก
จิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน
ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
.3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
     แนวทางในการศึกษา
-ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง
-นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียน
-ค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
-ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา
-ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย     ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ    แก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก   มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง   นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

หลักการสำคัญ
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

แนวคิด
๑.  การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์และทำให้บุคคลเผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
๒.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะ  ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร  ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ และมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทั้งทางปริมาณและคุณภาพ
๓.  ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้  สามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม   เมื่อศึกษาจบบทเรียนผู้เข้ารับการศึกษาแต่ละคนสามารถ
๑. องค์ประกอบของการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
๒. อธิบายธรรมชาติของการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
๓. อธิบายการถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
๔. วางแผนนำทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ไปใช้ในการเรียนการสอนได้ถูกต้อง


การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
๑.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการ  การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ
๑.๑  มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
๑.๒  บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
๑.๓  บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
๑.๔  บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
๑.๕  บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus) มากระตุ้นบุคคล  ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัส (Sensation) ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕  แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ (Perception)ใหม่  อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น  เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Concept) และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้า  ตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่า  เกิดการเรียนรู้แล้ว


๒.  การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ  แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย  เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่
๓.  การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน  การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
๔.  การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน  มีความสามารถในการเรียนต่างกัน  มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน  ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้  และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธีเรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้
การนำความรู้ไปใช้
๑.  ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
๒.  พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
๓.  ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
๔.  ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
๕.  พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย    ประการ  คือ
๑.   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน   ถาวร
๒.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ  เท่านั้น
๓.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้   (Theory of Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก  เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์  เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ     วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์  มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ  แบ่งออกได้    กลุ่มใหญ่ๆ     คือ
๑.   ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
๒.   ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response)  ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง    พฤติกรรมที่มองเห็น และสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิด  และปฏิกิริยาภายในของผู้เรียน  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑.   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข   (Conditioning Theories)
๑.๑   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  (Classical Conditioning Theories)
๑.๒   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
๒.   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง  (Connectionism Theories)
๒.๑   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง    (Connectionism Theory)
๒.๒   ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง     (S-R Contiguity Theory)
สรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้  ดังนี้
๑.  การแผ่ขยายพฤติกรรม
๒.  การลดภาวะ   หรือการดับสูญการตอบสนอง  
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑.   ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์  ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เช่น  วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน  เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
๒.   ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓.   ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว  ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด  และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้ความเข้าใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า  พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง   ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight)  คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
องค์ประกอบของการเรียนรู้  มี     ส่วน   คือ
๑.   การรับรู้  เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการรับรู้เป็นส่วนรวมที่สมบูรณ์มากกว่าการรับรู้ส่วนย่อยทีละส่วน
๒.   การหยั่งเห็น เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้ ซึ่งเดวิส ใช้คำว่า Aha ' experience

ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
๑.  ขั้นให้ความสนใจ  ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น  เป็นขั้นตอน    ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ
๒. ขั้นจำ  เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง  ซึ่งมักจะจดจำไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม
๓.  ขั้นปฏิบัติ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจำไว้
๔.  ขั้นจูงใจ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ เป็นไปในทางบวก ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ  ถ้าเป็นไปในทางลบ ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น